tickky+_+

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ชมดอกไม้สวย ที่ดอยอ่างขาง


ข้อมูลทั่วไป :
การเดินทาง :

บนเส้นทางหลวงหมายเลข 107 (เชียงใหม่-ฝาง) ประมาณกิโลเมตรที่ 137 จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าบ้านยางที่ตลาดแม่ข่า เข้าไปอีกประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นทางลาดยาง สูงและคดเคี้ยว ต้องใช้รถสภาพดีและมีกำลังสูง คนขับชำนาญ หรือจะหาเช่ารถสองแถวได้ที่ตลาดแม่ข่า



สิ่งอำนวยความสะดวก :

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง มีที่พักแรมได้ประมาณ 80 คน บริการอาหารวันละ 3 มื้อ/คน/วันคนละ 100 บาท เฉพาะกรณีที่สถานีฯมีความสะดวกในการรับบุคคลภายนอกเท่านั้น ติดต่อรายละเอียดโครงการหลวง 65 ถนนสุเทพเชียงใหม่ 50002 หรือ สถานีเกษตรหลวงอ่าวขาง ตู้ปณ.14 อำเภอฝาง เชียงใหม่ 50110
ที่พักเอกชนหน้าสถานีฯ ได้แก่ บ้านดอกเหมย, บ้านคนเมือง และร้านสามพี่น้อง มีที่พักเป็นหลังๆ พักได้ 4-8 คน อัตราค่าที่พัก 350-500 บาท/หลัง ติดต่อบ้านดอกเหมย บ้านสามพี่น้องที่ 62 หมู่ บ้านหลาจู ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

กิจกรรมท่องเที่ยวบนดอยอ่างขาง :

มีหลายอย่างที่สามารถจัดขึ้นได้ รีสอร์ทธรรมชาติอ่างขางริเริ่มจัดกิจกรรมท่องเที่ยวขึ้นที่นี่ ได้แก่
เส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะสั้น
ประมาณ 2 กิโลเมตร จะได้ชมน้ำตกเล็กๆ และกุหลาบพันปี

เส้นทางจักรยานเสือภูเขา
จากบ้านคุ้มไปยังบ้านนอแล และ จากบ้านหลวงไปยังบ้านผาแดง

จุดชมนก
มีนกมากกว่า 1,000 สายพันธุ์ จุดที่เหมาะคือสถานีป่าแม่เผอะและบริเวณรอบๆรีสอร์ธรรมชาติอ่างขาง

การขี่ฬ่อล่องไพร
ชมความงดงามของธรรมชาติในบรรยากาศเย็นสบายรอบๆดอยอ่างขางด้วยการนั่งบนหลังฬ่อ (การนั่งบนหลังฬ่อต้องนั่งหันข้างเนื่องจากอานกว้างไม่สามารถนั่งคร่อมอย่างการขี่ม้าได้) หากสนใจกิจกรรมนี้ต้องติดต่อกับรีสอร์ทล่วงหน้าอย่าน้อย 1 วัน เพราะปกติชาวบ้านจะนำฬ่อไปเป็นพาหนะขนผลิตผลทางการเกษตรด้วย


อากาศบนดอยหนาวเย็นตลอดปีโดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม อากาศเย็นจนน้ำค้างกลายเป็นน้ำค้างแข็ง นักท่องเที่ยวจึงควรเตรียมเครื่องกันหนาวมาให้พร้อม เช่น หมวก ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อกันหนาว

จุดเด่นที่น่าสนใจ :

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

เรื่องกำเนิดของสถานีฯแห่งนี้เป็นเกร็ดประวัติเล่ากันต่อมาว่าครั้งหนึ่งพระเจ้าอยู่หัวเสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้และทอดพระเนตรลงมาเห็นหลังคาบ้านคนอยู่กันเป็นหมู่บ้าน จึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น และหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอซึ่งในสมัยนั้นชาวเขากลุ่มนี้ยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ พระองค์จึงมีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตร สถานีฯจึงเกิดขึ้นเมื่อปี 2512 มีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่จะหาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง สามารถชมแปลงทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาว ได้แก่ ท้อ บ๊วย พลัม สตรอเบอรี่ สาลี่ ราสเบอรี่ พลับ กีวี ลูกไหน เป็นต้น พืชผักเมืองหนาว เช่น แครอท ผักสลัดต่างๆ ฯลฯ แปลงไม้ดอก เช่น คาร์เนชั่น กุหลาบ แอสเตอร์ เบญจมาศ ฯลฯ มีการจำหน่ายผลิตผลที่ปลูกในบริเวณโครงการฯ ให้แก่นักท่องเที่ยวตามฤดูกาล

สวนบอนไซ
อยู่ในบริเวณสถานีฯ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้เขตอบอุ่นและเขตหนาวทั้งในและต่างประเทศ ปลูก ดัด แต่ง โดยใช้เทคนิคบอนไซ สวยงามน่าชม และในบริเวณเดียวกันก็มีสวนสมุนไพรด้วยฤดูท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม


หมู่บ้านคุ้ม
ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีฯ เป็นชุมชนเล็กๆประกอบด้วยผู้อยู่อาศัยหลายเชื้อชาติอยู่รวมกัน อาทิชาวไทยใหญ่ ชาวพม่าและชาวจีนฮ่อ ซึ่งได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้และเปิดร้านค้าบริการแก่นักท่องเที่ยว


จุดชมวิวกิ่วลม
อยู่ทางด้านซ้ายมือก่อนถึงทางแยกซึ่งจะไปหมู่บ้านปะหล่องนอแลทางหนึ่ง และบ้านมูเซอขอบด้งทางหนึ่ง สามารถชมวิวได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและตก หรือทะเลหมอก มองเห็นทิวเขารอบด้านและหากฟ้าเปิดจะมองเห็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางด้วย


หมู่บ้านนอแล
ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย - พม่า แต่เดิมคนกลุ่มนี้อยู่ในพม่าและพึ่งอพยพมาที่นี่ได้ประมาณ 15 ปี คนที่นี่เป็นชาวเขาเผ่าปะหล่องเชื้อสายพม่า ซึ่งมีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นับถือศาสนาพุทธ ทุกวันพระผู้คนที่นี่หยุดอยู่บ้านถือศีล จากหมู่บ้านนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์สวยงามของธรรมชาติบริเวณพรมแดนไทย-พม่า


หมู่บ้านขอบด้ง
เป็นที่ที่ชาวเขาเผ่ามูเซอดำและเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่ร่วมกัน คนที่นี่นับถือผี มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย หมู่บ้านแห่งนี้ได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงในด้านการเกษตรและด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน (เช่น อาบูแค เป็นกำไลถักด้วยหญ้าไข่เหามีสีสันและลวดลายในแบบของมูเซอ)

บริเวณหน้าหมู่บ้านจะมีการจำลองบ้านและวิถีชีวิตของชาวมูเซอ โดยชาวบ้าน ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งช่วยกันสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมของหมู่บ้านโดยที่ไม่เข้าไปรบกวนความเป็นส่วนตัวของเขามากเกินไป และยังมีโครงการมัคคุเทศก์น้อยที่อบรมเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งเพื่อช่วยอธิบายวิถีชีวิตของพวกเขาให้ผู้มาเยือน ทั้งนี้เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกและสร้างความรักท้องถิ่นให้เด็กๆด้วย

หมู่บ้านหลวง
ชาวหมู่บ้านหลวงเป็นชาวจีนยูนานที่อพยพมาจากประเทศจีนในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก อาทิ ปลูกผักผลไม้ เช่น พลัม ลูกท้อ และสาลี่

พิสูจน์รัก สัมผัสหมอกหนาวที่ "ภูกระดึง"



                สัมผัสอากาศหนาว พร้อมพิสูจน์รักกันได้ที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ใครที่เคยได้ยินว่าถ้าจะต้องพิสูจน์รักแท้ต้องมาปีนขึ้นภูเขาลูกนี้ เพราะระยะทางที่กว่าจะขึ้นไปถึงยอดภูกระดึงนั้น พิสูจน์ใจของใครหลาย ๆ คนได้เป็นอย่างดี ทั้งความชัน ความเหนื่อยล้า ที่ต้องอาศัยกำลังใจของผู้ร่วมทางไปด้วยกัน แต่ถึงจะมีการกล่าวขานถึงความยาก ลำบาก ในการเดินทางขึ้นไปนั้น ภูกระดึงก็ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวฮอตฮิตของทุกคนในหน้าหนาวแบบนี้ เพราะความสวยงาม ยามเช้า และอากาศอันสดชื่น เมื่อเดินขึ้นไปถึงยอดภูกระดึงแห่งนี้...หนาวนี้ลองมาฟิตร่างกายพิสูจน์รัก สัมผัสสายหมอก ยามเช้าที่ ภูกระดึง

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็น แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ได้รับความนิยมมากแห่งหนึ่ง ของเมืองไทย เพราะมีสภาพธรรมชาติสมบูรณ์ประกอบด้วยระบบนิเวศและภูมิประเทศหลากหลาย ทั้งทุ่งหญ้า ป่าสนเขา ป่าดิบ น้ำตกและ หน้าผาชมทิวทัศน์ ลักษณะเด่นของอุทยานฯ แห่งนี้คือเป็นภูเขาหินทราย ยอดตัด เป็นที่ราบขนาดใหญ่คล้ายใบบอนหรือรูปหัวใจ มีเนื้อที่ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร มีความสูง 400-1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง จุดท่องเที่ยวประทับใจได้แก่ ผานกแอ่น ผาหล่มสัก ผาหมากดูด น้ำตกเพ็ญพบ น้ำตกถ้ำสอเหนือ-ใต้ สระอโนดาด เป็นต้น

 ที่พักและบริการท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค

กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก

"เชียงคาน เมืองโบราณ ที่ไม่ล้าสมัย"

            เมืองเชียงคาน ในปัจจุบันเป็นเมืองโบราณเก่าแก่ในสายตาของนักท่องเที่ยว เป็นชุมชนที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาได้ยาวนานกว่า 100 ปี ซึ่งเพิ่งจะมีการจัดงานฉลอง "100 ปี เชียงคาน เมืองโบราณ ริมฝั่งโขง" ไปเมื่อวันที่ 4-6 ธันวาคม 2552 ที่ผ่านมานี้เอง เพื่อเป็นการอนุรักษ์ความเป็นเอกลักษณ์ให้คงอยู่สืบไป

   เมืองเชียงคาน เมืองโบราณ.. บ้านไม้เก่าๆ ร้านกาแฟ มุมหนังสือเล็กๆ เท่านั้น แต่กลับมีนักท่องเที่ยวที่ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นหนุ่มสาว เดินเที่ยวกันให้เต็มไปหมด อาจจะด้วยเพราะเมืองเชียงคานนี้เงียบสงบ บรรยากาศดี ด้วยการที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์แต่ผสมผสานกับความเป็นสมัยใหม่ที่ไม่มากจนเกินไปได้อย่างลงตัวในแบบฉบับของเชียงคาน ผู้คนที่เชียงคานก็เป็นมิตร อัธยาศัยดี และการไปเที่ยวที่เชียงคานก็ไม่แพงจนเกินกำลัง ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเชียงคานแห่งนี้ ก็จะเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น หลายๆ สิ่งที่เชียงคานอาจเปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม เชียงคานจะไม่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าเราทุกคนยังคงช่วยกันรักษาความเป็นเอกลักษณ์ ดำรงวิถีชีวิตในแบบของเชียงคานสืบไป ความเป็นเชียงคานที่คงความเป็นเอกลักษณ์ได้ยาวนานกว่าร้อยปี ก็จะเป็นเช่นเดิมตลอดไป.. อ่านต่อ

     เชียงคาน อำเภอเล็ก อารยธรรมแห่งลุ่มน้ำโขง จากอาณาจักรล้านช้างในอดีต จากภูมิประเทศที่ติดชายแดนลาว ผู้คนที่นี่ทำการค้าขายกับคนลาวฝั่งตรงข้ามอยู่สม่ำเสมอตั้งแต่อดีตกาล

     ครั้นประเทศลาวตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ศิลปวัฒนธรรมการก่อสร้างบ้านเรือน อาหารการกิน คนที่นี่พลอยได้รับอารยธรรมฝรั่งเศสไปด้วย
การคมนาคมนอกจากเรือ แล้ว จักรยานเห็นจะเป็นยานพาหนะยอดฮิตของผู้คนที่นี่ เราสามารถเห็นจักรยานรุ่นเก่าจอดเรียงอยู่หน้าบ้าน แถวเชียงคานอยู่ทั่วไป

     บ้านเรือนทรงไทยโบราณเกือบร้อยปี หากใครมีฐานะหน่อยก็จะมีระเบียงหน้าบ้าน จนหน่อยก็มีแค่หน้าต่าง

     วัฒนธรรมการใส่บาตรข้าวเหนียวยามเช้า ยังคงมีให้เห็นอยู่ พระที่นี่เดินบินฑบาตกันแต่เช้ามืด ประมาณ 6.00 น. ช่วงหน้าหนาวสว่างช้าหน่อยก็เดินกันตั้งแต่ 6.30 น.

     ทางหอการค้าท่องเที่ยว จ.เลย มีแผนการหลายอย่างที่จะอนุรักษ์ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ สิ่งก่อสร้าง ภาษาท้องถิ่น ของผู้คนที่นี่

     ปัจจุบันทางการกำลังทำถนนจาก อ.ท่าลี่ สู่ หลวงพระบาง ประเทศลาว ประมาณ 320 กม. ถือว่าสั้นและสะดวกที่สุดในการเดินทางโดยรถยนต์ โครงการนี้จะแล้วเสร็จ ประมาณปี 2556ลัดเลาะสองฝั่งโขง แถวเชียงคานนี่เอง เป็นจุดเริ่มลำน้ำโขงที่มาบรรจบกับลำน้ำเหือง ไหลผ่านอีกหลาย อำเภอ ของอีกหลายจังหวัดของประเทศไทย ทิวทัศน์แปลกตา มีเกาะแก่งน้อยใหญ่ให้ดูชมตลาดเส้นทางที่คู่ขนานกับลำน้ำสายนี้

     อาหารการกิน ส่วนใหญ่เป็นจำพวกปลาต่างๆ จากแหล่งน้ำโขงนี่เอง

สถานที่ท่องเที่ยวเชียงคาน

วัดศรีคุณเมือง
  ตั้งอยู่ที่ซอย 7 ถนนชายโขง ทางด้านเหนือของตลาดเชียงคาน มีกำแพงแก้วล้อมรอบตัวพระอุโบสถ

วัดท่าแขก
  เป็นวัดเก่าแก่โบราณ อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ห่างจากอำเภอเชียงคาน 2 กม.

แก่งคุดคู้
   เป็นแก่งหินใหญ่ขวางอยู่กลางลำน้ำโขง ห่างจากตัวอำเภอเชียงคานประมาณ 3 กม.

พระพุทธบาทภูควายเงิน
  ตั้งอยู่ที่บ้านอุมุง ตำบลบุฮม ตามเส้นทางสายเชียงคาน-ปากชม ระยะทาง 6 กม.

พระใหญ่ภูคกงิ้ว
   เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าพระพุทธนวมินทรมงคลลีลาทวินคราภิรักษ์ ตั้งอยู่ที่ภูคกงิ้ว

จุดชมวิวภูทอก
 ภูทอก ทางขึ้นชมทะเลหมอก เริ่มจากเข้าซอยข้างโรงพยาบาลเชียงคาน รถเก๋ง รถกระบะก็สามารถขับขึ้นเขาได้
การเดินทางเชียงคาน

รถยนต์
     จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1(พหลโยธิน) ผ่านตัวเมืองสระบุรี ตรงเข้าทางหลวงหมายเลข 21 ผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ตรงเข้าทางหลวงหมายเลข 203 ผ่านอำเภอหล่มสัก หล่มเก่า เข้าเขตจังหวัดเลย ที่อำเภอด่านซ้าย อำเภอภูเรือ ถึงตัวจังหวัดเลยใช้เวลาเดินทางประมาณ 7-8 ชั่วโมง หรือจะใช้เส้นทาง จากสระบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 มิตรภาพ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ถึงจังหวัดขอนแก่น แล้วเลี้ยว ซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 12 ผ่านอำเภอชุมแพ แล้วใช้เส้นทางหมายเลข 201 เข้าเขตจังหวัดเลย ที่อำเภอภูกระดึง อำเภอวังสะพุง ถึงตัวจังหวัดเลยได้เช่นเดียวกัน

รถโดยสารประจำทาง
     บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารประจำทางวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-เลย ทุกวัน ทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง รายละเอียดสอบถามที่สถานีขนส่งสายอีสาน ถนนกำแพงเพชร 2 (หมอชิต 2) โทร. (02) 936-0667, 936-0657

รถไฟ
     การรถไฟแห่งประเทศไทย มีรถไฟไปจังหวัดอุดรธานีและขอนแก่น ซึ่งสามารถต่อรถยนต์ไปจังหวัดเลยได้อีกต่อหนึ่ง รายละเอียดสอบถาม หน่วยบริการเดินทาง สถานีรถไฟกรุงเทพฯ โทร. 233-7010, 223-7020

เครื่องบิน
     บริษัท การบินไทย จำกัด มีเที่ยวบินกรุงเทพฯ-อุดรธานี ทุกวัน วันละ 3 เที่ยว แล้วสามารถต่อรถยนต์ไปจังหวัดเลย อีกประมาณ 140 กม. รายละเอียดสอบถาม โทร. 280-0060, 628-2000 และที่จังหวัดอุดรธานี โทร. (042) 243222, 246697

วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อุทยานแห่งชาติ แก่งกระจาน

"อุทยานแห่งชาติ แก่งกระจาน"


ข้อมูลทั่วไป

  อุทยานแห่งชาติปิดการท่องเที่ยวและพักแรมเฉพาะบริเวณบ้านกร่างและเขาพะเนินทุ่ง ในระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม - 31 ตุลาคม ของทุกปี เพื่อความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว และเปิดโอกาสให้ธรรมชาติได้มีโอกาสฟื้นตัว


อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำเพชรบุรีและแม่น้ำปราณบุรี และมีลักษณะเด่นทางธรรมชาติที่สำคัญหลายแห่ง เช่น ทะเลสาบ น้ำตก ถ้ำ หน้าผาที่สวยงาม มีเนื้อที่ประมาณ 1,821,687.84 ไร่ หรือ 2,914.70 ตารางกิโลเมตร


ความเป็นมา : เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จแปรพระราชฐานที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเสด็จที่เขื่อนแก่งกระจาน ได้รับสั่งให้นายถนอม เปรมรัศมี อธิบดีกรมป่าไม้ เข้าเฝ้าเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2522 ได้มีกระแสพระราชดำรัสว่า “เรื่องป่าต้นน้ำ ลำธารของแม่น้ำเพชรบุรี ขอให้เจ้าหน้าที่ดูแลรักษาอย่าให้มีการลักลอบตัดไม้ ถางป่า ทำไร่ในป่าต้นน้ำของแม่น้ำเพชรบุรี เพราะจะทำให้เกิดความแห้งแล้ง แม้จะได้มีการให้สัมปทานป่าแปลงนี้ไปบ้างแล้ว ก็ขอให้ เจ้าหน้าที่ตรวจดูแลการทำไม้ อย่าให้เป็นการทำลายป่าเกิดขึ้น”จากพระราชดำรัสดังกล่าวประกอบกับนโยบายของรัฐบาลตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2522 ที่ให้รักษาป่าไว้โดยการประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ 


กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 452/2523 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2523 ให้นายสามารถ ม่วงไหมทอง นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้นบริเวณพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารแม่น้ำเพชรบุรีเหนือเขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ตามหนังสือรายงานการสำรวจ ด่วนที่สุด ที่ กส 0708/จช. 67 ลงวันที่ 15 เมษายน 2523 รายงานว่า บริเวณป่าดังกล่าวเป็นป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำเพชรบุรีและแม่น้ำปราณบุรี เป็นภูเขาสลับซับซ้อน สภาพป่าสมบูรณ์ มีทิวทัศน์สวยงาม ประกอบด้วยน้ำตก ถ้ำ หน้าผา ทะเลสาบ พันธุ์ไม้มีค่านานาชนิด เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าต่างๆ เช่น เลียงผา วัวแดง กระทิง นก ปลาต่างๆ และช้างป่า ซึ่งเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและศึกษาความรู้ด้านต่างๆ ทั้งเป็นการรักษาสภาพป่าให้คงอยู่เป็นสมบัติของชาติถาวรสืบไปดังพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติการประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 เห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินบริเวณพื้นที่ป่ายางน้ำกลัดเหนือ และป่ายางน้ำกลัดใต้ในท้องที่ตำบลน้ำกลัดเหนือ กิ่งอำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอเขาย้อย และตำบลสองพี่น้อง ตำบลแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ครอบคลุมเนื้อที่ 1,548,750 ไร่ หรือ 2,478 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 92 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 28 ของประเทศ


ต่อมาคณะอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้มีหนังสือลงวันที่ 17 ตุลาคม 2525 ถึงนายชวน หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอให้อนุรักษ์ป่าห้วยแร่ห้วยไคร้ ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ด้วย กรมป่าไม้ จึงให้ นายสามารถ ม่วงไหมทอง ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และนายรุ่งโรจน์ อังกุรทิพากร เจ้าพนักงานป่าไม้ 2 สำรวจหาข้อมูลเบื้องต้น ปรากฏว่า ในบริเวณดังกล่าวมีสภาพป่าสมบูรณ์ดี มีทิวทัศน์สวยงาม มีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก ถ้ำ หน้าผา ลานหิน และมีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจ ที่ กส 0713(กจ) /78 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2526 เห็นควรให้ขยายเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานออกไปครอบคลุมพื้นที่ดังกล่าว 


กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ต่อมาได้มีมติการประชุมครั้งที่ 1/2527 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2527 ให้ขยายเขตอุทยานแห่งชาติให้ครอบคลุมพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตอุทยานแห่งชาติป่ายางน้ำกลัดเหนือ และป่ายางน้ำกลัดใต้ ในท้องที่ตำบลแก่งกระจาน ตำบลสองพี่น้อง ตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี และตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ครอบคลุมเนื้อที่ 273,125 ไร่ หรือ 437.00 ตารางกิโลเมตร โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 101 ตอนที่ 194 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2527 รวมเนื้อที่ 1,821,875 ไร่ หรือ 2,915 ตารางกิโลเมตร


ต่อมากองบัญชาการทหารสูงสุด และจังหวัดเพชรบุรี ได้ขอเพิกถอนพื้นที่เพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแม่เพรียง เนื้อที่ 28 ไร่ 2 งาน และอ่างเก็บน้ำห้วยป่าแดง เนื้อที่ 158 ไร่ 2 งาน 64 ตารางวา ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่ายางน้ำกลัดเหนือ และป่ายางน้ำกลัดใต้ บางส่วนในท้องที่ตำบลห้วยแม่เพรียง และตำบลป่าเต็ง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ 187.16 ไร่ หรือ 0.30 ตารางกิโลเมตร โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 64 ก ลงวันที่ 24 กันยายน 2541 ทำให้ในปัจจุบันอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานคงเหลือพื้นที่ 1,821,687.84 ไร่ หรือ 2,914.70 ตารางกิโลเมตร




 ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศมีทั้งส่วนที่เป็นพื้นดินและส่วนที่เป็นอ่างเก็บน้ำ มีเนื้อที่ประมาณ 45 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ป่าเหนืออ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน ประกอบด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อนของเทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งเป็นเทือกเขาที่เป็นเขตแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า ยอดสูงสุดได้แก่ เขางะงันนิกยวกตอง สูงประมาณ 1,513 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยเฉลี่ยสูงประมาณ 500 เมตร ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาหินแกรนิต บางแห่งเป็นเขาหินปูน ในหลายแห่งอุดมไปด้วยแร่ฟลูออไรน์ ปกคลุมด้วยป่าดิบชื้นเป็นส่วนใหญ่ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเพชรบุรีและแม่น้ำปราณบุรี ลำห้วยสำคัญของแม่น้ำเพชรบุรีที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้แก่ ห้วยประโดน ห้วยบางกลอย ห้วยแม่เสลียง ห้วยหินเพิง ห้วยสาริกา ห้วยฝาก ห้วยไผ่ และห้วยสามเขา ลำห้วยที่สำคัญของแม่น้ำปราณบุรีในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ได้แก่ ห้วยคมกฤช ห้วยโสก แม่น้ำสัตว์ใหญ่ ห้วยป่าแดง และห้วยป่าเลา


 ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าดิบชื้น จึงทำให้มีความชื้นสูง ส่วนใหญ่จะมีฝนตกชุก จึงมีอากาศเย็นสบายตลอดปี ไม่ร้อนอบอ้าว ปริมาณน้ำฝนรวมรายปีระหว่าง 986-1,140 มิลลิเมตร 



ซึ่งในช่วงฤดูฝน การท่องเที่ยวและพักแรมในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ไม่สะดวกในการเดินทางไปท่องเที่ยว ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติสูง และอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่นักท่องเที่ยว  
 จึงมีกำหนดปิดการท่องเที่ยวและพักแรม เฉพาะบริเวณบ้านกร่างและเขาพะเนินทุ่ง ในระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม - 31 ตุลาคม ของทุกปี เพื่อความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว และเปิดโอกาสให้ธรรมชาติได้มีโอกาสฟื้นตัว

 สถานที่ติดต่อ
  อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
ต.แก่งกระจาน  อ. แก่งกระจาน  จ. เพชรบุรี   76170
โทรศัพท์ 0 3246 7326, 08 6166 2991, 0 3245 9293   โทรสาร 0 3245 9291   อีเมล k.krachan_np@hotmail.com

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

หนาวนี้เที่ยวเมืองปาย






เที่ยวปาย อ.ปาย
  
      อำเภอปายตั้งอยู่ในจังหวัด แม่ฮ่องสอน เป็นเมืองก่อนประวัติศาสตร์ที่มีคนตั้งถิ่นฐาน เป็นเมืองเก่าแก่่ สำคัญสมัย ล้านนา แต่เดิมตั้งอยู่ท ี่ตำบลเวียงเหนือเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน ในสมัยราชวงศ์มังราย ซึ่งมีเมืองเชียงใหม่ เป็น ศูนย์กลาง ต่อมาอำเภอปาย ได้ร้างไปพร้อมกับเมืองเชียงใหม่ เมืองปายได้ฟื้นฟูเป็นหมู่บ้านและพัฒนาเป็น อำเภอ ปายโดยมีผู้คนหลายกลุ่มชาติพันธุ์อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ ตามประวัติิความเป็นมาอณาจักรล้านนาเรียกอำเภอปายว่า "บ้านดอน" ทั้งนี้เนื่องจากมีที่ตั้งอยู่บนดอนมีป่าไม้ไผ่่ล้อมรอบ มีแม่น้ำไหลผ่าน 2 สาย คือ แม่น้ำปายและแม่น้ำเมือง และมี มีหลักฐานว่า เจ้าเมืองคนแรกคือ ขุนส่างปายและในสมัย พระเจ้าโหตรประเทศ พระราชาธิบดี เจ้าผู้ครองนคร เชียงใหม่ ส่ง เจ้าแก้วเมือง ออกสำรวจชายแดน ได้พบว่าภูมิประเทศน่าสนใจ จึงแนะนำให้ขุนส่างปาย ย้ายเมืองมา ตั้งฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปายเพราะที่ราบกว้างขวาง ผู้คนจึงเรียกเมืองใหม่ ว่า เวียงใต้ ส่วนเมืองเก่าเรียกว่า เวียงเหนือ
   ปัจจุบันอำเภอปายมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ วัดกลาง น้ำตกหมอแปง หมู่บ้านกะเหรรี่ยงแม่ปิง วัดน้ำฮู เจดีย์พระธาตุแม่เย็น น้ำตกแม่เย็น โป่งน้ำร้อนท่าปาย กองแลน สะพานประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ห้วยจอกหลวง โป่งน้ำร้อนเมืองแปง เป็นต้น

สถานที่ท่องเที่ยว
 ปางอุ๋ง หรือ หมู่บ้านรวมไทย เป็นหมู่บ้านภายในโครงการพระราชดำริปางตอง 2 (ปางอุ๋ง) ในพระบรมราชินูปถัมป์ของสมเด็จพระบรมราชินีนาถลักษณะพื้นที่เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่บนยอดเขาสูง ริมอ่างเก็บน้ำเป็นแนวสนที่ปลูกเรียงรายอย่างกลมกลืนยามพระอาทิตย์ขึ้นจะสะท้อนผืนน้ำเป็นลำแสงสีทองผ่านแนวสนเขียวขจีงดงามจนถือได้ว่าเป็นทะเลสาบที่สวยที่สุดในเมืองไทยเปรียบได้กับ นิวซีแลนด์เมืองไทย และเมื่อได้สัมผัสกับแปลงพันธ์ไม้เมืองหนาวหลากสีสันที่ปลูกประดับในโครงการ ฯ ซึ่งปางอุ๋งเปรียบเสมือนกับ สวิสเซอร์แลนด์เมืองไทย

ปางอุ๋ง ...เมื่อฟากหนึ่งเป็นนิวซีแลนด์ และอีกฝั่งหนึ่งเป็นสวิสเซอร์แลนด์

วัดน้ำฮู

   ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กม. เป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่ออุ่นเมือง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทำด้วยโลหะทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 28 นิ้ว สูง 30 นิ้ว พระพุทธรูปองค์นี้พระเศียรกลวง ส่วนบนเปิดปิดได้และมีน้ำขังอยู่ เป็นพระพุทธรูปสิงห์สาม อายุประมาณ 500 ปี เมื่อ พ.ศ. 2515 มีพระธุดงค์จากอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มานมัสการและสงสัยว่าข้างในพระจะมีน้ำจึงเปิดดูพบว่ามีน้ำจริงๆ ข่าวนี้แพร่ออกไปก็มีผู้คนหลั่งไหลมาขอน้ำไปสักการะพอน้ำในพระเศียรหมดก็จะมีไหลออกมาอีกในลักษณ ซึออกมาตลอดเวลา น้ำตกอยู่ระหว่างทางไป น้ำตกหมอแปง ด้านหลังมีองค์พระเจดีย์ ตามประวัติเล่าว่า พระสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างเพื่อบรรจุพระอัฐิของพระพี่นางสุพรรณกัลยา


อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง

     สถานที่เที่ยวแห่งนึงที่ไม่ควรพลาดหากผ่านมาจากเชียงใหม่(แม่ริม) คือ ห้วยน้ำดัง หรือ ุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอีกแห่งหนึ่ง สำหรับผู้ที่เดินทางจากเชียงใหม่ไปปาย ก่อนถึงปายนักท่องเที่ยวไม่พลาดที่จะแวะเข้าไปสัมผัสบรรยากาศ การเดินทางจากจังหวัดเชียงใหม่ ตามทางหลวงหมายเลข 107 (เชียงใหม่ - ฝาง) แล้วเลี้ยวซ้ายตรงสามแยกตลาดแม่มาลัย จากนั้นไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1095 (แม่มาลัย - ปาย) พอถึงหลักกิโลเมตรที่ 65 -66 ให้เลี้ยวขวา เดินทางต่อไปอีก 6 กม. ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ที่นี่มีทรัพยากรที่สมบูรณ์คล้ายเป็นของขวัญที่ธรรมชาติทักถอไว้ให้  จุดชมวิวห้วยน้ำดังหรือที่รู้จักกัน ดอยกิ่วลม จุดชมทะเลหมอกที่สวยงามยามอรุณรุ่ง ที่สามารถเห็นพระอาทิตย์ขึ้นผ่านไอหมอก  นอกเหนือจากจุดชมวิว  ยังมีน้ำพุร้อนโป่งเดือด และเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติโป่งเดือด ภายในอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังมีบ้านพักรับรอง จัดเตรียมไว้สองจุด คือบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ และบริเวณโป่งเดือด พร้อมที่อาบน้ำแร่ให้ชำระล้างร่างกายคลายอ่อนล้า หากใครที่ต้องการใกล้ชิดธรรมชาติ ก็สามารถกางเต้นท์นอนได้ในสถานที่จัดไว้ให้ มีทั้งเต้นท์และเครื่องนอนไม่เสียเวลาแบกมาจากบ้านด้วย สำหรับใครที่ไม่อยากพักที่ห้วยน้ำดังแต่อยากแวะไปเที่ยว มานอนที่ปายก็ไม่ไกลห้วยน้ำดังเท่าไหร่




หมู่บ้านสันติชล
 หมู่บ้านสันติชล ใช้เส้นทางเดียวกับวัดน้ำฮู หมู่บ้านสันติชลห่างจากวัดน้ำฮูไปราว 2 กิโลเมตร เป็นชุมชนชาวจีนยูนนาน ซึ่งย้ายถื่นฐานจากจีนแผ่นดินใหญ่มาตั้งรกรากยังเมืองปาย เมืองเล็ก ๆ แห่งนี้ ชิงช้าไม้ที่ตั้งอยู่หน้าหมู่บ้าน เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของ หมู่บ้านสันติชล ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นเครื่องเล่นที่ดึงดูดใจผู้มาเยือนหมู่บ้านสันติชลได้อย่างดีทีเดียว ภายในบริเวณมีภัตตาคารอาหารจีนยูนนาน อาหารขึ้นชื่อของชาวหมู่บ้านสันติชล ให้นักท่องเที่ยวได้อิ่มอร่อยหลังจากที่เดินทางมาอย่างเหน็ดเหนื่อย เมนูเด็ดที่ใคร ๆ ก็ต้องสั่งคือ ขาหมู-หมั่นโถว รสชาติแบบฉบับดั้งเดิมของชาวจีนยูนนาน ด้วยรสชาติของขาหมูที่กลมกล่อม เนื้อนุ่ม ทานคู่กับหมั่นโถวร้อน ๆ อร่อยอย่าบอกใคร ภัตตาคารอาหารจีนยูนนานตั้งอยู่บริเวณเนินเขา มองเห็นทิวทัศน์และบรรยากาศชุมชนที่อยู่โดยรอบ รวมถึงบ้านดิน ภูมิปัญญาการสร้างที่อยู่อาศัยของชาวจีนยูนนาน ที่ใช้ดินในการสร้างบ้านอยู่ ปัจจุบันบ้านดินเปิดเป็นที่พักปาย เป็นที่พักอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ ส่วนบ้านพักมีจำนวน 8 หลังด้วยกัน สอบถามรายละเอียดและราคาได้ที่เบอร์ 081-0243982

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ลอยกระทงที่เมืองเหนือ


ประเพณีลอยกระทง ตรงกับวันเพ็ญ (วันขึ้น 15 ค่ำ) เดือน 12 (ตามปฏิทินทางจันทรคติ) ประมาณเดือนพฤศจิกายน ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อแม่พระคงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป 

อลังกาลโคมไฟยี่เป็งล้านนา  
    ถึงเทศกาลประเพณีลอยกระทงประจำปี 2550 นี้ ข่าวคราวกิจกรรมการลอยกระทงก็มีการจัดอยู่ทั่วทุกจังหวัด ไม่ได้หมายความว่าประเพณีการลอยกระทง ไม่ได้อยู่เพียงแค่จังหวัดสุโขทัย หรือเชียงใหม่ ทุกภาคทุกจังหวัดก็มีการจัดกิจกรรมลอยกระทงทุกแห่งพร้อมกัน อาจแตกต่างกันในเนื้อหาและรูปแบบเพื่อให้สอดคล้องกับแต่ละจังหวัด หรือประเพณีดั้งเดิมที่มาช้านาน

  
ประเพณียี่เป็ง
     ประเพณี  "ยี่เป็ง" เป็นประเพณีลอยกระทงตามประเพณีล้านนาที่จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน  2 ของชาวล้านนา เป็นภาษาคำเมืองในภาคเหนือ คำว่า "ยี่" แปลว่า สอง และคำว่า "เป็ง" มีควาหมายตรงกับคำว่า  "เพ็ญ"   หรือพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งชาวไทยในภาคเหนือจะนับเดือนทางจันทรคติเร็วกว่าไทยภาคกลาง 2 เดือน ทำให้เดือนสิบสองของไทยภาคกลาง ตรงกับเดือนยี่หรือเดือน  2   ของไทยล้านนา    ประเพณียี่เป็งจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 13 ค่ำ  ซึ่งถือว่าเป็น  "วันดา"หรือวันจ่ายของเตรียมไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัด ครั้นถึงวันขึ้น 14 ค่ำ พ่ออุ้ยแม่อุ้ยและผู้มีศรัทธาก็จะพากันไปถือศีลฟังธรรมและทำบุญเลี้ยงพระที่วัดมีการทำกระทงขนาดใหญ่ตั้งไว้ที่ลานวัด  ในกระทงนั้นจะใส่ของกินของใช้ใครจะเอาของมาร่วมสมทบด้วยก็ได้เพื่อเป็นทานแก่คนยากจนครั้นถึงคืนวันขึ้น 15  ค่ำ  จึงนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็กของส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ

เป็นโคมใหญ่มีรูปร่างคล้ายบอลลูนตัวโครงทำจากซีกไม้ไผ่หุ้มด้วยกระดาษสาเมื่อจุดโคมความร้อนจากเปลวไฟจะทำให้โคมลอยตัวขึ้นการปล่อยโคมลอยนี้จะทำกันที่วัดหรือตามบ้านคน โดยเชื่อว่าโชคร้ายทั้งหลายจะลอยไปกับโคม     ในงานบุญยี่เป็งนอกจากจะมีการปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์มหาชาติตามวัดวาอารามต่างๆ แล้วยังมีการประดับตกแต่งวัดบ้านเรือนและถนนหนทางด้วย ต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้  ตุงช่อประทีปและชักโคมยี่เป็งแบบต่างๆขึ้นเป็นพุทธบูชาพอตกกลางคืนจะมีมหรสพและการละเล่นมากมายมีการแห่โคมทอง  พร้อมกับมีการจุดถ้วยประทีป (การจุดผางปะติ๊ด) เพื่อบูชาพระรัตนตรัย     การจุดบอกไฟการจุดโคมประดับตกแต่งตามวัดวาอารามและการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ตามวัฒนธรรมของล้านนาจะแบ่งโคมไฟออกเป็น 4 แบบ คือ "โคมติ้ว" หรือ โคมไฟเล็ก ที่ห้อยอยู่กับซีกไม้ไผ่ซึ่งผู้คนจะถือไปในขบวนแห่และนำไปแขวนไว้ที่วัดแบบที่สองเรียก "โคมแขวน" ที่ใช้แขวนบูชาพระพุทธรูปทำเป็นหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น รูปดาว รูปตะกร้า โดยปกติจะใช้แขวนตามวัดหรือตามหิ้งพระก็ได้แบบที่สามเรียก "โคมพัด" ทำด้วยกระดาษสาเป็นรูปกรวยสองอันพันรองแกนเดียวกันด้านนอกจะไม่มีลวดลายอะไรส่วนด้านในจะตัดแต่งเป็นรูปทรงต่างๆ ในทางพุทธศาสนาเมื่อจุดโคมด้านในแสงสว่างจะทำให้เกิดเงาบนกรวย ด้านนอกก็จะเคลื่อนไหวคล้ายตัวหนังตะลุงแบบสุดท้ายเรียก "โคมลอย"